วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การตรวจสอบการใช้อำนาจ

รูปแบบความสัมพันธ์ของการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative Politics)
ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่า

พรรคการเมือง การเลือกตั้ง รัฐบาล เเละการจัดตั้งรัฐบาล

การมองบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองเป็นการพิจารณาถึงกิจกรรมหลักๆ ที่พรรคการเมืองกระทำ อยู่ในสังคม บทบาทหน้าที่ดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคกระทำไปตามเป้าหมาย ทางการเมืองของตน แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อสังคมตามมาด้วย ถึงแม้ว่า ผลดีที่ตามมานั้น อาจจะไม่ใช่วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการทำกิจกรรมของพรรคการเมืองก็ตาม บทบาท และหน้าที่ ซึ่งพรรคการเมืองกระทำ มีอยู่มากมาย แต่ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ทำหน้าที่บริหารประเทศ การทำหน้า 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

บทบัญญัติเกี่ยวกับรฐสภา คณะรัฐมนตรี เเละศาล

บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พอสรุปสังเขปได้ ดังนี้

1รัฐสภา
1.รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2.ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

แนวทางปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

1.เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยการไปออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนที่ดีให้ไปทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ได้คนดีมีความสามารถไปเป็นตัวแทนในการบริหารบ้านเมือง
2.ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

หลักการที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ฐัธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า

โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550   ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช  2550   มีบทบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้าง การบริหารรัฐและการเมืองการปกครองของไทยไว้ในหมวด 1 บททั่วไป คือ
1. ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรเดียวจะแบ่งแยกมิได้
2. มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. อำนาจประชาธิปประไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์ประมุขจะทรงใช้อำนาจผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกั
บพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์